ข่าวคราวพระเมหศวร กรุวัดสว่างอารมณ์
พระมเหศวรเป็นหนึ่งในตำนานอันยิ่งใหญ่ของพระเนื้อชิน ซึ่งได้รับการจัดเข้าชุดยอดขุนพลเนื้อชิน
ประกอบด้วย
พระร่วงหลังรางปืน จ.สุโขทัย
พระหูยาน จ.ลพบุรี
พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี
พระชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก
พระมเหศวร จ.สุพรรณบุรี
รวมเป็น ๕ ขุนพลจาก ๕ เมือง ที่เป็นแหล่งพระเครื่องและอารยธรรมสำคัญของประเทศ
พระมเหศวรแตกกรุจากพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี เมื่อปี ๒๔๕๖
ร่วมกรุเดียวกับ ผงสุพรรณ พระกำแพงศอก พระท่ามะปราง พระลีลาระเวง
พระลีลาหลังซุ้มอรัญญิก พระซุ้มจิก พระซุ้มระฆัง พระปทุมมาศ พระกำแพงนิ้ว
พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังพระ ฯลฯ
คำว่า มเหศวร หมายถึง พระอิศวร ซึ่งมีฤิทธิ์อำนาจมากในบรรดาเทพเทวดาทั้งปวง
เหมาะสมและเป็นมงคลอย่างยิ่งต่อการนำมาเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ ด้วยอิทธิฤทธิ์
ปาฏิหารย์จากประสบการณ์ของผู้บูชาพระมเหศวรเป็นประจักษ์พยานยืนยัน
จากหลังฐานในใบลานทองที่พบในกรุ บ่งชี้ว่า พระมเหศวรและพระในกรุนี้
สร้างโดยพระเจ้าอู่ทอง ประมาณปี ๑๘๘๖ โดยจัดเป็นพิธีหลวง มีฤาษีผู้ทรงฤทธิ์เป็นผู้ทำพิธีปลุกเสก
ศิลปะของพระมเหศวร เป็นแบบอู่ทองยุคกลาง จุดเด่นอยู่ตรงการวางรูปแบบพิมพ์พระให้มี ๒ ด้านกลับหัว
ซึ่งไม่เคยปรากฎในพระกรุใดมาก่อน ถือเป็นการสร้างพระที่แปลกพิสดารเปี่ยมสีสันน่าสนใจยิ่ง สันนิษฐานว่า
แม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ
พระบางองค์จึงยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่
นอกจากพิมพ์ ๒ หน้า หรือสวนคู่แล้ว ยังมีพิมพ์สวนตรง คือทำเป็นพระสองหน้าแต่ไม่กลับหัวกัน
และพิมพ์สวนเดี่ยวที่มีพระหน้าเดียว ด้านหลังเป็นลายผ้า ตัดขอบชิดองค์พระไม่เหลือปีกบน
และล่าง อย่างพิมพ์สวนคู่พิมพ์สวนเดี่ยวบางองค์ด้านหลังเป็นพิมพ์ซุ้มระฆังหรือนาคปรกก็มี
แต่พบน้อยมาก สำหรับพิมพ์สวนคู่ แบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก แตะละพิมพ์มีเอกลักษณืเฉพาะตัว
เนื้อพระมเหศวร มีเฉพาะเนื้อชินเงินและชินตะกั่วเท่านั้น ส่วนชินเขียวไม่ใช่พระของเมืองสุพรรณ เนื้อพระจะต่างจาก
กับเนื้อชินของเมืองอื่นๆอย่างเช่น พระเมืองอยุธยา จะเป็นเนื้อชินแข็งหรือชินกรอบ
ผิวประทุขาวหรือพรายเงิน ส่วนพระมเหศวรเป็นพระเนื้อชินสังฆวานร คือชินค่อนข้างอ่อนกว่า
พระมเหศวรบางองค์ที่เนื้อแก่ดีบุกและปรอท เนื้อจะเป็นสีเงินยวง ถ้าสภาพสมบรูณ์
ผิวจะปรากฎคราบปรอทและคราบไขมันที่เป็นเกร็ดสีน้ำตาลแทรกแซมกัน เมื่อผสมกันแล้ว
ทำให้ผิวปรอทเป็นสีทอง กลายเป็นเอกลักษณ์ของผิวพระมเหศวรอย่างหนึ่ง
แต่หากผ่านการบูชาใช้ สัมผัสเหงื่อไคลจึงจะเกิดสนิมดำ บางองค์อาจเกิดสนิมขุม
และรอยผุระเบิดเกิดจากความร้อนในกรุ แต่ตามซอกยังต้องมีผิวปรอทสีทองหลงเหลืออยู่บ้าง
ถ้าเนื้อแก่ตะกั่ว ผิวจะออกสีเทา แต่เนื้อในยังคงเจือสีเงิน เพราะเป็นเนื้อตะกั่วผสมปรอท
และดีบุก ไม่ใช่เนื้อตะกั่วล้วนๆ ส่วนคราบไขและสนิมต่างๆเหมือนกัน
มเหศวรมีชื่อเสียงโด่งดังมายาวนาน ผู้พกพาบูชาไม่เคยพบความผิดหวัง
เป็นพระที่สร้างมาสำหรับ "ใช้" อย่างแท้จริง นอกจากจะเชื่อถือได้ทาวคงกระพันและมหาอุต
แล้ว ยังช่วยเสริมส่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิต องค์พระมีน้ำหนักเบา
เหมาะสำหรับการแขวนบูชา ดูมีสง่าราศีเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับรูปต่อไปนี้.......เป็นพระกรุพบใหม่ เมื่อเดือน มิถุนายน 2549
ของวัดสว่างอารมณ์ริมน้ำท่าจีน ต.พิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
พระกรุนี้ขุดพบเมื่อ เดือนมิถุนายน 2549 โดยทางวัดไม่ทราบมาก่อนว่ามีกรุนี้อยู่
วัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดแรกในทั้งหมด 9 วัด ที่อยู่ริมนำ้ท่าจีนด้วยเป็นวัดที่มีนำ้ท่วมทุกปี
ทำให้คณะกรรมการวัดนำโดยเจ้าอาวาสทำการย้ายวิหารซึ่งมีอายุร่วม300กว่าปี
ด้วยวิธีขุดยกวิหารทั้งหลัง เมื่อทำการขุดยก ได้พบกรุพระใต้ฐานพระพุทธรูปลึกเมตรเศษๆ
มีพระมเหศวรทั้งหมด 6 ไหเมื่อประเมินอายุตามอายุวิหาร 300กว่าปี
พระนี้ต้องสร้างก่อนแล้วนำมาฝังกรุใต้วิหารตามความเชื่อหรือประเพณี หรือด้วยเหตุผลไดสักอย่างหนึ่ง
.........ทางวัดจึงนำเก็บใว้บางส่วนเพื่อแจกจ่ายไห้ผู้เกี่ยวข้องและให้เช่าเพื่อหารายได้
สมทบทุนในการย้ายวิหาร แต่ตอนนี้ที่วัดหมดแล้ว
ที่มาจาก : http://school.obec.go.th/mamoung2/pramerngkon/index%20pra.htm#anchor01
{moscomment}